แหล่งซื้อไม้กอล์ฟญี่ปุ่น...นำเข้าจากญี่ปุ่นด้วยตัวเองง่ายๆ

กีฬากอล์ฟ (Golf) เป็นกีฬาที่มีความสง่างาม สามารถใช้ในการเข้าสังคม และเสริมความสัมพันธ์ในเชิงการทำธุรกิจ นอกจากนี้ยังฝึกสมาธิ และบอกความเป็นเอกลักษณ์ตัวตนได้ด้วย

เราจะเห็นได้ว่า นักธุรกิจส่วนใหญ่ นิยมหาเวลาว่างพากันไปเล่นกีฬาชนิดนี้ ซึ่งอุปกรณ์ในการเล่นกอล์ฟ หลายคนอาจจะคิดว่ามีเยอะแยะมากมายตั้งแต่หัวจรดเท้า

แต่จริงๆ แล้ว อุปกรณ์ที่สำคัญที่สุด มีแค่ 2 อย่าง คือ ไม้กอล์ฟ กับลูกกอล์ฟเท่านั้นเอง ไม่ใช่ว่าอย่างอื่นไม่สำคัญ เพียงแต่ว่าอุปกรณ์ที่เราอาศัยใช้จริงในการเล่น มี 2 อย่างนี้เป็นหลัก

โดยเฉพาะตัวไม้ที่จะต้องเลือกให้เหมาะกับรูปแบบการตี และต้องถนัดเหมาะมือสำหรับผู้เล่น ซึ่งปัจจุบันมีขายอยู่หลายยี่ห้อที่น่าสนใจ แล้วแต่ความชอบ และกำลังในการซื้อค่ะ

ไม้กอล์ฟนำเข้าจากญี่ปุ่น

ไม้กอล์ฟนำเข้าจากญี่ปุ่น

แน่นอนว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นแหล่งขายอุปกรณ์ไม้กอล์ฟ (golf) ที่full option จริงๆ ค่ะ เรียกได้ว่า "สวรรค์" สำหรับนักกอล์ฟผู้ที่ชื่นชอบอุปกรณ์กอล์ฟอย่างแท้จริง

มีทั้งมือหนึ่ง มือสอง ให้เลือกช็อป เลือกซื้อมากมาย ราคาเริ่มต้นหลักร้อย

อีกหนึ่งจุดที่ทำให้ร้านกอล์ฟที่ญี่ปุ่นน่าสนใจคือ มีหลายรุ่นของหลายแบรนด์ที่ผลิตมาวางขายในตลาดญี่ปุ่นเท่านั้น อาทิ รุ่น VG3 ของ Titleist, TaylorMade รุ่น Gloire

เช่นเดียวกับลูกกอล์ฟที่ก็จะมีรุ่นพิเศษจากแบรนด์อย่าง Titleist หรือ Srixon ที่เราเห็นเฉพาะวางขายที่ญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน


ต่อให้ไม่มีโอกาสบินไปเลือกซื้อเองที่ญี่ปุ่น...อยู่ไทยก็สามารถซื้อและนำเข้าได้นะคะ


108 คำถาม...มีคำตอบ

ไม้กอล์ฟมือสองญี่ปุ่น...ซื้อได้ที่ไหน?

นำเข้าไม้กอล์ฟจากญี่ปุ่นด้วยตัวเองง่ายๆ ไม่ต้องบินไปซื้อเองอย่างไร?

ไม้กอล์ฟมือสองญี่ปุ่นดีไหม?

ประมูล ไม้กอล์ฟ ญี่ปุ่น

สั่งไม้กอล์ฟจากญี่ปุ่น

แหล่งจำหน่ายอุปกรณ์กอล์ฟ

ไม้กอล์ฟมือ1 มือ2

ไม้กอล์ฟพรีเมียมจากแบรนด์ชั้นนำ

หัวไม้1 ชุดเหล็ก

พัตเตอร์มือสอง

ก้านไม้กอล์ฟมือสอง

กระเป๋ากอล์ฟ

ของแท้จากประเทศญี่ปุ่น สินค้านำเข้า มีทุกแบรนด์ ราคาถูกที่สุดในไทย

จบทุกคำถามข้อสงสัย คลิก!

www.shobujapan.com

เว็บสั่งของและนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่น อันดับ 1 ของไทย เวอร์ชั่นภาษาไทย ใช้งานง่าย

อยู่บ้านก็สามารถนำเข้าด้วยตัวเองได้เลยง่ายๆ แค่ กดสั่งซื้อออนไลน์ หรือบิทประมูล – จ่ายเงิน – รอรับของที่บ้าน

ไม้กอล์ฟนำเข้าจากญี่ปุ่น

บอกแหล่งซื้อไปแล้ว เรามาดูประเด็น ที่เป็นข้อถกเถียงกันค่ะ

  1. ไม้กอล์ฟที่ประเทศญี่ปุ่น ถูกกว่าไทยจริงหรือ?

ตอบ : ไม้กอล์ฟที่ญี่ปุ่นถูกกว่าไทย “แค่เฉพาะบางรุ่นเท่านั้น” โดยส่วนใหญ่ที่ถูกกว่าจะเป็นแบรนด์ญี่ปุ่นเองเป็นหลัก แนะนำหาจับมือสอง ราคาน่ารักค่ะ

แต่นอกจากนี้ก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย ไม่ว่าจะเป็นค่าเงินเยนในขณะนั้น เมื่อตีเป็นเงินไทยแล้วตกราคาอยู่ที่เท่าใด (ระบบเว็บ shobujapan จะคำนวณเงินบาทให้อัตโนมัติ)

รวมถึงนักกอล์ฟที่เล็งรุ่นอุปกรณ์เอาไว้แล้ว ก็ต้องทำการบ้านว่า ไม้รุ่นที่คุณมองหานั้นที่เมืองไทยขายอยู่ที่ราคากี่บาท เพื่อเปรียบเทียบราคาความคุ้มค่าค่ะ

  1. ไม้กอล์ฟ Japan Spec และ US Spec อันไหนดีกว่ากัน?

ตอบ : ไม้กอล์ฟแบรนด์ญี่ปุ่น ส่วนใหญ่ผลิตเน้นขายภายในประเทศ (ยกเว้นพวก Mizuno , Srixon ที่เน้นตลาดต่างประเทศเยอะ จนกลายเป็น international brand ไปแล้ว)

เลยยึดการออกแบบ 1.ขนาด 2.ความยาว 3.ความอ่อน-แข็งของก้าน ให้เหมาะกับคนเอเชียที่ตัวเล็ก แรงไม่เยอะ รวมถึงไม้หน้าเด้งต่างๆ

ที่เน้นขายให้นักกอล์ฟที่อยากตีได้ไกลแต่ไม่ต้องใช้แรงเยอะ โดยไม่เน้นนักกอล์ฟแข่งขันเพราะไม้หน้าเด้งส่วนใหญ่จะผิดกฎ ไม่สามารถใช้แข่งได้นั่นเอง

อย่างไรก็ตามอาจจะมีรุ่นที่ออกแบบสำหรับนักกอล์ฟฝีมือดีจนถึงโปรใช้แข่งขันก็ได้

(ลองดูตามหนังสือกอล์ฟญี่ปุ่นจะเห็นพวกโปรญี่ปุ่นใช้ไม้แบรนด์ญี่ปุ่นเยอะเหมือนกัน)

ตรงกันข้ามไม้แบรนด์อเมริกา ออกแบบเน้นขายชาวอเมริกาหรือยุโรปเป็นหลัก จึงออกแบบ 1.ก้านแข็ง (ฝรั่งตัวสูงใหญ่) 2.หน้าไม่เด้ง 3.ไม่บางมาก เพื่อรองรับการตีแรงๆ

ส่วนการตลาดก็จะออกแบบให้โปรใช้แข่งเป็นหลัก เพื่อเป็นการโปรโมทแบรนด์ ทั้งนี้ ก็มีทั้งรุ่นที่ตีง่าย จนถึงยากระดับโปร

และจะเห็นว่าแบรนด์พวกนี้มีการออกแบบเน้นตลาด Asia เช่นใส่ก้าน Asian Spec ซึ่งอ่อนและเบากว่าก้าน US หรือมีบางรุ่นมีขายเฉพาะในทวีปเอเซีย

เพื่อสนองความต้องการของตลาดเอเซีย เช่น ในญี่ปุ่นที่นักกอล์ฟนิยมสินค้าพรีเมี่ยม

สรุปสิ่งที่แตกต่างกันมีหลักๆอยู่ 2 อย่างคือ

 1. Lie angle หรือ มุมระหว่างหน้าเหล็กกับก้านไม้กอล์ฟโดย Lie angle ที่เหมาะสมควรจะทำให้สันของหน้าเหล็ก ค่อนข้างแนบกับพื้น (ปลายไม่กระดก)

 ซึ่งถ้าเป็นไม้ญี่ปุ่น Lie angle จะเหมาะกับมาตรฐานความสูงนักกอล์ฟไทยมากกว่า เนื่องจาก สัดส่วนสรีระ น้ำหนักใกล้เคียงกัน ซึ่ง Lie angle ที่ตั้งเกินไป (upright) จะทำให้ตีออกซ้ายกว่าปกติ

 แต่ถ้าท่านมีไม้ U.S อยู่แล้วก็ไม่ต้องเครียด เพราะปัญหา Lie angle สามาถแก้ได้โดยนำเหล็กของท่านไปให้ Club fitter ดัด lie angel ให้เหมาะกับความสูงของท่านได้

2. สำหรับ Driver หรือ fairway woods spec ก้านญี่ปุ่นจะอ่อนกว่าspecก้าน US และก้าน Driver ญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะมีความยาวมากกว่าไม้ US

เพื่อทำให้ตีได้ไกลกว่า ดังนั้น Driver ญี่ปุ่นจะทำช่วยให้เราตีได้ไกลขึ้น

 แต่ในข้อดีย่อมมีข้อเสียซึ่งข้อเสียของก้านที่ยาวขึ้นก็คือจะยากต่อการควบคุมทิศทาง โดยเฉพาะนักกอล์ฟที่มีความเร็วหัวไม้สูง

ดังนั้นก่อนเลือกซื้อ Driver เราควรจะทราบก่อนว่าเรามีความเร็วหัวไม้เท่าไรและก้าน Driver ที่เราจะซื้อ สามารถรองรับความเร็วนั้นได้หรือเปล่า?

.

  1. คุณภาพ?

ตอบ : เรื่องคุณภาพของตัวสินค้า ยอมรับว่าไม้แบรนด์ญี่ปุ่น ที่ Made in Japan จริงๆ งานปราณีตกว่ามาก ทั้งเรื่องวัสดุ สี

ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าตีลอดลูก ไม้ US สีเปิด แตก ถลอก ง่ายมาก แต่ Japan สีตรงขอบหน้าไม้ส่วนใหญ่คมและทนทานมาก ถ้าตีลอดนิดหน่อยครั้งสองครั้งแทบจะไม่เป็นไรเลย เช็ดนิดก็เหมือนใหม่

คิดว่าเป็นเพราะงานผลิตของญี่ปุ่นซึ่งเน้นความปราณีต ผลิตในจำนวนน้อย ย่อมมีการทำ QC ที่ละเอียดมากกว่า ไม้ US ที่ผลิตในประเทศเช่นจีน และผลิตในจำนวนมากเพื่อขายทั่วโลก

รวมไปถึงพวกก้านที่ไม้ Japan มักจะติดก้าน After market มาด้วยเลย ซึ่งเป็นที่นิยมของนักเล่นของ หรือ นักโมไม้ ต่างจากไม้ US ที่มักจะติดเป็นก้าน OEM

ซึ่งในปัจจุบันก็มีการสั่งก้าน Custom มาจากโรงงานได้แต่ราคาบางครั้งเรียกว่าไปซื้อก้านใหม่มาโมใส่เองถูกกว่า  ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทำให้ไม้ Japan มีราคาที่ค่อนข้างแพงกว่ามาก

  1. การใช้งาน?

ตอบ : การใช้งาน และฟิลลิ่ง ถือเป็นความชอบส่วนบุคคล อาจจะไม่เหมือนกัน บางคนชอบไม้ Japan เพราะมันดูมีคุณค่า งานปราณีตมาก ราคามันแพง ดูหรูหรา น่าเก็บ

บางท่านชอบไม้ Japan เพราะตีแล้วมันนุ่ม หัวไม้มันก็ใสปิ๊ง

บางคนชอบใช้ยี่ห้อ US เพราะชอบฟิลลิ่งดิบๆ แข็งๆ ไม่ชอบนุ่มๆ ใสๆ เหมือนไม้ Japan เพราะรู้สึกว่าตีไม่มันส์ก็มี

ชอบเทคโนโลยีที่เขาโฆษณาต่างๆ ว่าดีอย่างไร แม้กระทั่งชอบใช้ตามโปรในดวงใจ

สรุปคุณค่าความพอใจในมุมมองของแต่ละบุคคลคงจะไม่เหมือนกัน ทั้ง Japan และ US มีข้อดี ข้อเสีย ต่างกันแล้วแต่คนจะมอง

ที่สำคัญที่สุด ใช้อะไรแล้วผลงานดีก็ควรเลือกใช้อันนั้นดีกว่า

.

นี่ก็เป็นข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ ที่ท่านนักกอล์ฟสามารถนำไปอ้างอิงกันได้เวลาไปเลือกซื้อไม้กอล์ฟครั้งต่อไปนะคะ